การขออนุญาติเปิดปั้มขนาดเล็กในหมู่บ้าน มีคำตอบ
การขออนุญาติเปิดปั้มขนาดเล็กในหมู่บ้าน
สวัสดีครับพอดีมีลูกค้าหลายท่านสอบถามเรื่องการขออนุญาติการเปิดปั๊มน้ำมันในหมู่บ้าน หลายท่านมีความกังวลเกี่ยวกับกฏหมาย รายละเอียดเอกสาร ทางเราได้หาข้อมูลจากเวป กระทรวงพลังงานและการขออนุญาติจริงรายละเอียดดังต่อไปนี้
ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญแบบอัตโนมัติ เข้าลักษณะธุรกิจ “การประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2”
การขออนุญาติ
- ผู้ประกอบกิจการจะต้องแจ้งการประกอบกิจการควบคุมประเภทที่ 2 ตามแบบ ธพ.น1 ต่อกรมธุรกิจพลังงาน ในกรณีที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ หรือแจ้งต่อสำนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพื้นที่นั้นๆ เช่น อบต เทศบาล
- ผู้ประกอบกิจการต้องดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2543 ต่อกรมธุรกิจพลังงานจังหวัด
- ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงฯต้องตั้งภายในเขตของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท ง ที่มีมาตรฐานความปลอดภัยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 กล่าวคือตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงต้องตั้งห่างจากเตาไฟหรือที่ทำการหุงต้มและแนวเขตสถานีบริการอย่างน้อย 3 เมตร โดยรอบ ต้องมีทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร เก็บไว้ในบริเวณใกล้กับน้ำมันเชื้อเพลิง และสามารถนำมาใช้งานได้สะดวกตลอดเวลา และต้องมีถังดับเพลิงผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัมและเป็นชนิดที่ใช้ดับเพลิงอันเกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ จำนวนไม่น้อยกว่า1 ถัง เพื่อเตรียมไว้สำหรับดับเพลิงและผู้ประกอบกิจการต้องเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินที่ตั้งสถานีบริการและต้องไม่อยู่ในเขตห้ามประกอบกิจการตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
เอกสารที่จำเป็น
เอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นขอกับทาง อบต. หรือ เทศบาล
ส่วนที่1 เอกสารของตู้ 1.ใบรับรองจากสำนักงานช่างตรวงวัด
2.ใบรับรองมาตรฐานจากกรมพลังงาน

ใบรับรองมาตรฐานจากกรมพลังงาน
ส่วนที่2 เอกสารของเจ้าของตู้ตามรายการดังต่อไปนี้
- เอกสาร ธพน.1
- สำเนาบัตรประชาชน (เจ้าของตู้)
- สำเนาฉโนดที่ดินหรือใบแสดงสิทธิในที่ดิน
- สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าของที่ดิน (ใช้ในกรณีที่เจ้าของตู้ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- หนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดินในการประกอบกิจการน้ำมัน
- รูปถ่ายตู้น้ำมัน
- แผนที่สังเขปแสดงสถานที่ประกอบกิจการ
- แผนผังการติดตั้งตัวตู้น้ำมันหยอดเหรียญ
- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของตู้ไม่ได้ไปดำเนินเอกสารเอง)
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีเจ้าของตู้ไม่ได้ไปดำเนินเอกสารเอง)
เอกสารการขออนุญาติเปิดปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก
ใบรับรองประจำเครื่องตรวงวัด ชว.105
ป้ายตรวจสอบ จากกรมการค้าภายใน
เอกสารการขออนุญาติกับ อบตหรือเทศบาล พร้อมตัวอย่าง
การขออนุญาติเปิดปั้มขนาดเล็กในหมู่บ้าน
เป็นยังไงบ้างครับ ทุกท่านน่าจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยในการเตรียมเอกสาร ส่วนอีกปัญหาหนึ่งก็คือจะเลือกบริษัทใหนถึงจะได้เอกสารครบและถูกต้อง
ไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับการเลือกบริษัทที่ไม่ถูกกฏหมาย ทางเราเตรียมสินค้าให้คุณแล้ว สามารถเลือกซื้อสินค้าได้เลยครับ เราพร้อมบริการทุกท่านด้วยความเติมใจ คลิ๊กลิ้งที่ด้านล่างได้เลยครับ
หรือจะโทรฯสอบถามก็ได้ครับ
ติดต่อ ธนกฤต 092-891-4654 โทรฯมาปรึกษาได้ครับ
Incoming search terms:
- ตัวอย่าง แบบ ธ พ น 2
ผมอยากทราบว่าถ้ามีปั๊มหลอดมาว
างอยู่ในที่ดินของแฟนผมแล้วทางผู้ใหญ่บ้านบอกว่าปั๊มหลอดจะต้องมีเลขที่บ้านด้วยตอนนี้แฟนผมส่งเอกสารไปให้หมดแล้วผมขอคำปรึกษาครับ
ทำไมมันมันยุ้งยากจังครับ…
เห็นที่เขาขายกัน..ไม่เห็นมีอะไรเลย..ผม..งง..งง..?
พอทำจริงๆก็ไม่ยากอยากที่คิดค่ะถามเจ้าหน้าที่เทศบาล หาความรู้ทางเน็ตเราขอมาแล้วไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดค่ะ
อยากชอความคิดเห็นขอใบอนุญาตืตั้งปั๊บขนาเล็กหน่อยค่ะ
รบกวนขอไลน์ไอดีส่งทางอีเมลได้ไหมค่ะ
กรณีใช้ที่สาธารณประโยชน์ เช่น ศาลาประชาคมประจำหมุ่บ้าน เป็นพื้นที่ใช้ติดตั้งตู้น้ำมันหยอดเหรียญ
ต้องดำเนินการยังไงคะ..
ติดตั้งไม่ได้ครับ
ไปติดต่อกรมพลังงานแล้วคับ เขาบอกว่าไม่มีเลขที่บ้าน ก็ไม่สามารถติดตั้งได้ ต้องมีเลขที่บ้านเท่านั้น ผมใช้เอกสาร โฉนดไปยื่นก็ไม่ผ่าน ทำไงล่ะคับ ตู้ก็ลงไปแล้ว
ซื้อตู้จากที่ใหนครับ
การเปิดปั๊มน้ำมันขนาดเล็กในหมู่บ้าน มีกฏหมายมั้นค่ะ ว่ากักตุนน้ำมันได้เท่าไหร่
ขอทราบค่าใช้จ่ายในการลงทุนปั้มหลอดและค่าขอใบอนุญาตด้วยค่ะ
อยากทราว่า1.ค่าใช้จ่ายในการขอใบอนุญาตเท่าไหร่คะ 2.ลงทุนปั้มหลอดมีงบประมาณเท่าไหร่คะราคาท้องตลาดกับทางเอนจอยปั้ม
สวัสดีค่ะถ้าเป็นกลุ่มกองทุนหมู่บ้านตามโครงการประชารัฐเจ้าของตู้นี้เราต้องเอาชื่อเจ้าของที่หรือคณะกรรมการกองทุนค่ะ คือทางเราได้รายระเอียดมาน้อยนะค่ะ
ติดตั้งไปหรือยังครับ
สวัสดีครับถ้าเป็นกลุ่มกองทุนหมู่บ้านตามโครงการประชารัฐเจ้าของตู้นี้เราต้องเอาชื่อเจ้าของที่หรือคณะกรรมการกองทุน คือทางเราได้รายระเอียดมาน้อยมากครับ
ที่ว่าปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญห่างไฟ 3 เมตร คือเสาไฟฟ้าหรือว่าไฟหุงต้ม แล้วต้องอยู่ห่างจากถนนสาธารณะกี่เมตร
3 เมตร ครับ